ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

เวลา 01 นาฬิกา (01:00 ) : ควรพูดว่า ตี1

เวลา 02 นาฬิกา (02:00 ) : ควรพูดว่า ตี2

เวลา 03 นาฬิกา (03:00 ) : ควรพูดว่า ตี3

เวลา 04 นาฬิกา (04:00 ) : ควรพูดว่า ตี4

เวลา 05 นาฬิกา (05:00 ) : ควรพูดว่า ตี5

เวลา 06 นาฬิกา (06:00 ) : ควรพูดว่า ย่ำรุ่ง/รุ่งเช้า

เวลา 07 นาฬิกา (07:00 ) : ควรพูดว่า 1โมง

เวลา 08 นาฬิกา (08:00 ) : ควรพูดว่า 2โมง

เวลา 09 นาฬิกา (09:00 ) : ควรพูดว่า 3โมง

เวลา 10 นาฬิกา (10:00 ) : ควรพูดว่า 4โมง

เวลา 11 นาฬิกา (11:00 ) : ควรพูดว่า 5โมง

เวลา 12 นาฬิกา (12:00 ) : ควรพูดว่า เที่ยงวัน

เวลา 13 นาฬิกา (13:00 ) : ควรพูดว่า บ่ายโมง

เวลา 14 นาฬิกา (14:00 ) : ควรพูดว่า บ่าย2

เวลา 15 นาฬิกา (15:00 ) : ควรพูดว่า บ่าย3

เวลา 16 นาฬิกา (16:00 ) : ควรพูดว่า บ่าย4

เวลา 17 นาฬิกา (17:00 ) : ควรพูดว่า บ่าย5

เวลา 18 นาฬิกา (18:00 ) : ควรพูดว่า ย่ำค่ำ/พลบค่ำ

เวลา 19 นาฬิกา (19:00 ) : ควรพูดว่า 1ทุ่ม

เวลา 20 นาฬิกา (20:00 ) : ควรพูดว่า 2ทุ่ม

เวลา 21 นาฬิกา (21:00 ) : ควรพูดว่า 3ทุ่ม

เวลา 22 นาฬิกา (22:00 ) : ควรพูดว่า 4ทุ่ม

เวลา 23 นาฬิกา (23:00 ) : ควรพูดว่า 5ทุ่ม

เวลา 24 นาฬิกา (24:00 ) : ควรพูดว่า เที่ยงคืน






ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

คำว่า "โมง" และ "ทุ่ม" มีที่มาของการบอกเวลาในสมัยโบราณตามนี้

"โมง" จะใช้สำหรับช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงก่อนเที่ยงวัน โดยพระหรือเณรจะทำหน้าที่ ไปตีฆ้อง บอกเวลาทุกชั่วโมง เช่นเวลา 8:00 จะตีฆ้อง2ครั้ง เสียงดังโม้งๆ ก็คือ 2โมง นั่นเอง

"ทุ่ม" จะใช้สำหรับช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนเที่ยงคืน โดยจะมีการตีกลอง บอกเวลาทุกชั่วโมง เช่น เวลา 20:00 ก็จะตีกลอง 2ครั้ง เสียงดังตุ้มๆ หรือ 2ทุ่ม นั่นเอง

"ตี" ใช้สำหรับช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนจนถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป โดยจะมีการตีระฆังหรือกระบอกไม้ ให้มีเสียงดังทุกชั่วโมง เวลา 02:00 ก็จะตี2ครั้ง หรือ ตี2 นั่นเอง

ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง

ในวัฒนธรรมไทยโบราณ การแบ่งช่วงเวลาในแต่ละวันมีการใช้คำเรียกเฉพาะที่แตกต่างจากการแบ่งเวลาในปัจจุบัน

คำที่ใช้เรียกช่วงเวลา 06:00 น. (6 โมงเช้า) ในภาษาไทยโบราณคือ "ย่ำรุ่ง" หรือ "รุ่งเช้า"

ย่ำรุ่ง: คำนี้ใช้เรียกเวลาช่วงเช้าตรู่ โดยเฉพาะเวลาที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นหรือใกล้จะขึ้น
รุ่งเช้า: ใช้เรียกเวลาช่วงเช้าตรู่เช่นกัน โดยเฉพาะเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้นไม่นาน
ทั้งสองคำนี้ใช้สื่อถึงช่วงเวลาที่เป็นตอนเช้าตรู่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นของวันใหม่

เวลา 18:00 น. (6 โมงเย็น) จะเรียกว่า "ย่ำค่ำ" หรือ "พลบค่ำ"

ย่ำค่ำ: คำนี้หมายถึงช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือเวลาที่เริ่มค่ำแล้ว เป็นช่วงเวลาที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เริ่มหมดไปและความมืดเริ่มเข้ามาแทนที่
พลบค่ำ: คำนี้หมายถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดินและท้องฟ้าเริ่มมืด เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน
ทั้งสองคำนี้ใช้สื่อถึงช่วงเวลาที่เป็นตอนเย็นหรือค่ำ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดินแล้ว





-- ตารางเทียบเวลาไทย กี่โมง กี่ทุ่ม บ่ายกี่โมง --


Updated 2024 www.flash-mini.com @flash-mini flash-mini pinterest profile | About us

ทำนายฝัน ดูดวงไพ่ยิปซี เลขเด็ดคนรักหวย แผนที่ ข้อสอบ และอื่นๆ

This website uses cookies or similar technologies to collect information to improve your browsing experience. By continuing to use our website, you agree to Privacy Policy and Terms of Use.

Contacts Office Address: 125/8 Sukhumvit Road, Phra Khanong Subdistrict, Bang Na District, Bangkok 10120 | Phone +66 069180821 | Contacts email : [email protected]